เปิดเบื้องลึก ! ตึก สตง.ถล่ม ใครต้องรับผิดชอบ ตั้งข้อสงสัย “แผ่นดินไหว” ไกลจากจุดศูนย์กลาง 1,000 กิโลเมตร มาตรฐานการออกแบบเป๊ะ ! เหตุใดตึกถึงถล่ม ด้านประชาชนแคลงใจ ยังคงเชื่อมั่นในกลไกโครงสร้างของประเทศได้หรือไม่ ?
วันที่ 2 เม.ย. 68 คุณ อัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ “ถกไม่เถียง” ทางช่อง 7HD กด 35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ ว่า ตนเคยเจอผู้บริหารของ ไชน่า เรลเวย์ฯ เมื่อปีที่แล้วตนถูกคัดเลือกเป็นที่ปรึกษา ที่ตนถูกเลือกเพราะตนสามารถออกสื่อได้ และแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นบริษัทที่ลงทุนในเมืองไทย บริษัททำรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ หนองคาย และทำตึก สตง. พอตรวจสอบปรากฏว่ามีหุ้นคนไทย 51% เหตุผลที่ตนไม่รับงานเพราะเป็นบริษัทนอมินี และมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะ เป็นเงินสด 100 ล้าน
จนกระทั่งเกิดเหตุตึกถล่ม แบบการก่อสร้างมีการแก้ไขเสาจาก 1.4 เมตร เป็น 1 เมตร ตนทราบว่าคณะกรรมการตรวจสอบไม่มี การลดขนาดเสาเป็นการทำเพื่อจะก่ออิฐล้อมรอบ เมื่อก่อแล้วจะเท่ากับขนาดเดิม ตนไม่รู้ว่าเขาอนุมัติการเปลี่ยนขนาดเสาอย่างไร แต่เวลาจะแก้แบบต้องไปหาสถาปนิกและวิศวกรโครงสร้าง โดยผู้รับเหมาต้องทำเรื่องให้กับวิศวกรผู้คุมงาน และผู้คุมงานต้องส่งไปให้บริษัทผู้ออกแบบโครงสร้างว่าสามารถเปลี่ยนแบบได้หรือไม่
จุดเริ่มต้นของการถล่มมาจากชั้น 29 ตามด้วยเสาคู่กลางชั้น 28-29 ลงมาที่ชั้น 27-28 ตามด้วยเสาด้านซ้ายด้านล่างและตามด้วยเสากลางด้านล่าง โดยเป็นข้อมูลสรุปจากการดูวิดีโอทุกมุมทุกด้าน บทเรียนครั้งนี้ต้องตรวจสอบให้ได้ว่ามีเงินทอนจริงหรือไม่ และมีการจ่ายเงิน 100 ล้าน จริงหรือไม่ ต้องทำทุกทางให้เคสนี้เป็นตัวอย่างในการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน โดยปัญหาดังกล่าวเอกชนไม่เคยมีปัญหามีแค่หน่วยงานรัฐ
ด้าน ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ปกติต้องก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบที่ก่อสร้าง ถ้าเปลี่ยนจริงต้องถามว่าเปลี่ยนทำไม ถ้ามีการแก้แบบต้องย้อนไปถามผู้ออกแบบเดิมก่อนว่าสามารถแก้ไขได้หรือไม่ ประเด็นคือความสามารถในการต้านแรงลดลงใช่สาเหตุจริง ๆ ของการทำให้ตึกถล่มจริงหรือ และสาเหตุจริง ๆ ที่ทำให้ตึกถล่มเกิดจากอะไร
เหล็กเป็นสาเหตุหรือแค่สาเหตุร่วม ต้องหาจุดตั้งต้นว่าคือจุดไหน โดยการตรวจสอบต้องมองทีเดียวในทุก ๆ มุม ถ้าเหล็กได้มาตรฐานแต่ตัวข้อต่อไม่ได้มาตรฐานอาจเป็นปัญหาร่วมด้วย เหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ได้มาตรฐานกี่เปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้มีความไม่ปกติ ซึ่งวัสดุเป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้ตึกถล่ม
ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.ระยอง พรรคประชาชน เล่าว่า ตนลงพื้นที่เพราะอยากเห็นว่าหน้างานเป็นอย่างไร โดยมีส่วนที่ขนของออกมา เป็นจุดที่ทำให้ตนเกิดความสงสัยว่าเขาขนอะไรออกมาเป็นเหล็กเส้นหรือไม่ เพราะมีการคลุมผ้าไว้เหมือนเป็นเหล็ก และถ้ามีการขนเหล็กออกไปจริง เป็นเหล็กของกลางหรือเปล่า ตนจึงแจ้งอุตสาหกรรมจังหวัดมาตรวจ แต่ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้
เราต้องใช้งานในทุก ๆ ภาคส่วนให้มาช่วยกันตรวจสอบ ข้อกังวลของประชาชนตอนนี้คือ ถ้าเหล็กที่นำไปตรวจสอบจากซากอาคารไม่ได้มาตรฐาน ถ้าเกิดมีการสร้างโรงงานเพิ่มและผลิตเหล็กเพิ่มจะเกิดผลอะไรตามมาหรือไม่ ตนไม่ได้ฟันธงว่าเหล็กคือสาเหตุ แต่เมื่อเรามีหลักฐานว่าพบเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นหนึ่งในโครงสร้างของตึกที่พังทลาย ต้องหาเหตุและขยายผล
เมื่อเราเห็นตรงกันว่าตึกมีความผิดปกติและยังไม่มีการฟันธงว่าจะเกิดอะไรขึ้น มีกฎหมายบังคับใช้ คำถามคือการบังคับใช้มีการตรวจสอบทั้งเรื่องของการออกแบบเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ หรือการลดมาตรฐานมีการตรวจสอบมากแค่ไหน และนำไปสู่สิ่งใดได้บ้าง เงินส่วนต่างที่เหลือไปอยู่ส่วนไหน เคสนี้สั่นไหวต่อความมั่นคงของคนไทยว่าเรายังเชื่อมั่นในกลไกโครงสร้างประเทศที่สร้างตึกให้เราเข้าไปอยู่แล้วรู้สึกปลอดภัยได้จริงหรือ กฎหมายที่มีอยู่พอหรือยัง ?
#ถกไม่เถียง #TERODigital #Ch7HDNews
———-
ติดตาม รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.30-18.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35
Facebook: https://www.facebook.com/TERODigital/
Twitter: https://twitter.com/TERO_Digital
YouTube: https://www.youtube.com/c/TERODIGITAL
TikTok: https://www.tiktok.com/@terodigital
Instagram: https://www.instagram.com/terodigital