ชัวร์ก่อนแชร์ : ความดันโลหิตมาตรฐานคือ 150/90 สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : ความดันโลหิตมาตรฐานคือ 150/90 สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า สหรัฐอเมริกาได้กำหนดอย่างเป็นทางการ ว่าความดันโลหิตมาตรฐานคือ 150/90 สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ หน่วยอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น ----------------------------------------------------- 📌 สรุป : ❌ มั่ว อย่าแชร์ ❌ ข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่จริง เป็นข้อมูลเก่า และอาจส่งให้ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เสียโอกาสในการรักษาได้ Q : เขาบอกว่าสหรัฐอเมริกาได้กำหนดอย่างเป็นทางการว่า ความดันโลหิตมาตรฐานคือ 150/90 ? A : สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่อ้างกันตรงนี้มันยังไม่เป็นความจริง ตามวิทยาลัยโรคหัวใจของอเมริกา และสมาคมหัวใจของอเมริกา การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ทุกกลุ่มอายุ เราถือว่าความดันในเกณฑ์ปกติคือน้อยกว่า 120 และตัวล่างคือน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท โดยไม่ได้กินยาลดความดัน Q : สำหรับผู้สูงอายุปกติที่อายุมากกว่า 80 ปี ความดัน 160 หรือ 170 ก็เป็นที่ยอมรับเช่นกัน ? A : ตรงนี้ก็ไม่จริงอีก เนื่องจากการศึกษาวิจัยทั่วโลกบอกว่า ความดันโลหิตอายุ 60 ขึ้นไป ความดันตัวบนถ้าสูงเกิน 120 ขึ้นไป สัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากโรคหัวใจหลอดเลือด เพิ่มขึ้นโดยตลอดในทุกช่วงอายุ Q : เขายังบอกสูตรคำนวณความดันโลหิตสำหรับวัยต่าง ๆ ? A : สรุปแล้วความดันโลหิตซิสโตลิกปกติของผู้ชายคือ 82 + อายุ และ ของผู้หญิงคือ = 80 + อายุ เป็นที่เล่าลือมาตั้งเป็นสิบปีแล้ว ยังไม่มีเห็นในวารสารการแพทย์อะไร หรือองค์กรวิชาชีพที่ใช้สูตรคำนวณอันนี้ Q : เขาบอกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ไม่สามารถมีความดันโลหิตสูง ต่ำกว่า 130 ได้ มิฉะนั้นจะมีแนวโน้มที่จะเกิดความดันเลือดต่ำ และเป็นลมได้นี่จริงไหม ? A : อันนี้ไม่จริง จากการสำรวจประชาการทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2557 เขาพบว่าคนไทย 70-79 ปี 900 กว่าคน ผู้ชาย ความดันโลหิตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 101-165 ผู้หญิงอายุ 70-79 ปี พันกว่าคน ความดัน 105-163 ผู้ชายอายุ 80 ปีขึ้นไป 351 คน ความดันโดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ ก็ 109-166 ผู้หญิงอายุมากกว่า 80 ปี 382 คน ความดันโดยเฉลี่ย 103-164 เพราะฉะนั้นความดันที่ต่ำกว่า 130 เป็นไปได้ในผู้สูงอายุ Q : เขาบอกว่าความดันโลหิตสูงระหว่าง 150 ถึง 130 ปลอดภัยกว่า ? A : จะดีกว่าที่จะสูงกว่า อย่าต่ำกว่า แล้วแต่ว่าเขาเป็นโรคความดันโลหิตสูง แล้วก็รับประทานยาลดความดันอยู่หรือเปล่า คนที่ทานยาลดความดันอยู่ ระดับความดันถ้าอายุ เกิน 65 ปี ข ควรจะอยู่ที่ 130-139 ตัวบน 70-79 ตัวล่าง อันนี้เป็นคำแนะนำของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย แต่สำหรับคนที่ไม่กินยาลดความดัน 90-120 ถือเป็นความดันปกติของคน ๆ นั้นได้ Q : เขาบอกอีกว่ามาตรฐานของระดับน้ำตาลในเลือด ควรจะผ่อนคลายเมื่ออายุเพิ่มขึ้นนี่จริงไหม ? A : มีบางส่วนที่เป็นความจริง สมาคมเบาหวานเองก็จะออกเป็นลักษณะคำแนะนำ ว่าเวลาเราจะดูคนไข้โรคเบาหวานควรจะมีน้ำตาลระดับเท่าไหร่ ให้พิจารณาหลายประเด็นด้วยกันเลย ซึ่งตรงนี้มันจะมีการกำหนดออกมาที่ชัดเจนว่าอายุเท่าไหร่ เป็นโรคประจำตัวอะไร เป็นเบาหวานมานานกี่ปี คุมเบาหวานได้ดีไม่ดี โอกาสที่จะเกิดน้ำตาลต่ำมากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป Q : เขาบอกถึงระดับน้ำตาลในเลือด ขณะอดอาหารของผู้ป่วยเบาหวานตามอายุต่าง ๆ นี่ใช้ได้ไหม ? A : ตรงนี้มันคงไม่สามารถบอกได้ว่าจะต้องเท่านี้ ๆ ทั่วไปมันจะดูเป็นราย ๆ แล้วก็พิจารณาปัจจัยหลาย ๆ อย่าง แล้วคุณหมอที่ดูแลจะเป็นคนกำหนดตรงนี้เอง โดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ว่าควรจะลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยเฉลี่ยเท่าไหร่ Q : วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดสูง ? A : ใหญ่ ๆ ก็จะเป็น 3อ. 2ส. เรื่องอาหาร เอาจานมาจานนึงแบ่งเป็น 4 ส่วน ครึ่งนึงก็จะเป็นอาหารพวกผัก ถั่ว งา แล้วอีก 1 ใน 4 ก็เป็นข้าว โดยเฉพาะข้าวกล้อง อีก 1 ส่วน 4 ก็จะเป็นเนื้อสัตว์ เน้นไปที่เนื้อไก่กับเนื้อปลา ไก่ไม่ติดมัน แล้วบวกกับผลไม้ วันนึง 2-3 ฝ่ามือ แล้วก็บวกน้ำ อันที่ 2 คือ อ.อิริยาบถ เคลื่อนไหวออกแรง ออกกำลังกาย ง่ายที่สุดก็คือการเดิน เท่าที่มีการศึกษาว่าจะช่วยให้ลดความดันโลหิตได้ อย่างน้อย ๆ วันนึง ควรเดินอย่างน้อยประมาณ 8,000 ก้าว อันที่ 3 คือเรื่องของอารมณ์ ผมเรียกว่าออกกำลังใจก็คือการที่เราไม่เครียด ใช้สมองทั้งวัน อดหลับอดนอน พักผ่อนไม่พอ สุดท้ายอีก 2 ตัว คือ สูบบุหรี่กับสุรา ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้มันก็ทำให้ความดันโลหิตขึ้นได้ทั้งคู่ Q : สรุปแล้วข้อความเกี่ยวกับความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดที่เขาแชร์นี่เป็นอย่างไร ? A : ไม่ควรแชร์ต่อเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะทำให้คนที่รับข่าวสารเข้าใจผิดแล้ว เขายังเสียโอกาสในการที่จะได้มาดูแลความดันโลหิตสูงแต่เนิ่น ๆ เพราะเรายิ่งทิ้งความดันโลหิตสูงนานเท่าไหร่ โอกาสที่เราจะเกิดโรคแทรก อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจหลอดเลือด แม้แต่มะเร็ง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ตามมาได้ 👉 การได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เราเสียโอกาสในการดูแลสุขภาพให้ดีได้ #ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare ----------------------------------------------------- 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯 LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/sureandshare FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare IG :: https://instagram.com/SureAndShare Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare